โรคหัวใจกับสุขภาพช่องปาก

โรคหัวใจ และความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก

แม้ว่าโรคเหงือกไม่ใช่สาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ แต่อาจมีความเกี่ยวข้องหรือมีผลกระทบต่อการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจได้

โรคหัวใจ และสุขภาพช่องปากของคุณ

โรคเหงือกและภาะวะเหงือกอักเสบนั้นเกิดจากร่างกายทำปฏิกิริยาต่อต้านแบคทีเรียโดยมีกระบวนการของการอักเสบ ที่ช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับแบคทีเรีย แต่ผลที่เกิดขึ้นนั้นไม่เพียงแต่ทำปฏิกิริยาภายในเหงือกแต่สารจากกระบวนการอักเสบสามารถกระจายไปยังส่วนอื่น ของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผ่านกระแสเลือดไปยังหัวใจ ทำให้ส่งผลกระทบต่อผนังหลอดเลือด และเพิ่มโอกาสของการอุดตันในเส้นเลือด ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ และทันตแพทย์หลายคนเชื่อว่าการมีสุขภาพเหงือกที่ดีนั้นสำคัญยิ่งสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ

รูปภาพ: การอักเสบเรื้อรังเป็นองค์ประกอบทั่วไประหว่างโรคเหงือก และโรคหัวใจเรื้อรัง

 

โรคเหงือกอาจก่อให้เกิดเชื้อจุลินทรีย์ขนาดเล็กเดินทางจากช่องปากเข้าสู่กระแสเลือด และตกตะกอนในส่วนต่าง ของหัวใจส่งผลให้เกิดภาวะเยื่อบุหัวใจอักเสบ ได้ในกรณีดังต่อไปนี้ :

  • ผู้ป่วยใส่ท่อของลิ้นหัวใจเทียม หรือท่อลิ้นหัวใจได้รับการซ่อมแซมด้วยวัสดุเทียม
  • มีประวัติว่าเคยมีภาวะเยื่อบุหัวใจอักเสบ
  • การปลูกถ่ายหัวใจที่มีการทำงานของท่อผิดปกติ
  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดบางชนิด

ทั้งนี้การใช้ยาปฏิชีวนะก่อนกระบวนการทางทันตกรรมสามารถลดความเสี่ยงของเยื่อบุหัวใจอักเสบได้ โดยสมาคมโรคหัวใจอเมริกันได้ให้คำแนะนำสำหรับการป้องกันโรคด้วยยาปฏิชีวนะสำหรับผู้ป่วยที่มีสภาวะดังกล่าว และสภาวะอื่น ที่ทันตแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจสามารถตรวจสอบได้ว่าคุณมีความเสี่ยงต่อโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ 

สิ่งสำคัญคือไม่ว่าคุณจะเป็นโรคหัวใจ หรือมีอาการที่ทำให้คุณเสี่ยงต่อการเป็นเยื่อบุหัวใจอักเสบหรือไม่ก็ตาม การลดปริมาณของแบคทีเรียในช่องปากของคุณไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพช่องปาก แต่ยังรวมไปถึงสุขภาพองค์รวมของร่างกายคุณเช่นกัน

คำแนะนำเพื่อสุขภาพช่องปากที่ดี

1. เข้ารับการตรวจสุขภาพฟัน

กำหนดตารางการตรวจสุขภาพฟัน และแจ้งให้ทันตแพทย์ของคุณทราบเกี่ยวกับสภาวะหัวใจของคุณทันทีที่ได้รับการวินิจฉัย เพื่อให้แน่ใจว่าสุขภาพเหงือกของคุณมีสภาพดี และลดปริมาณของคราบแบคทีเรียบนผิวฟันด้วยการทำความสะอาดด้วยเทคนิคที่เหมาะสมสำหรับการดูแลฟันที่บ้านทุกวัน

2. พยายามรักษาสุขอนามัยช่องปาก และเลือกใช้แปรงสีฟันที่เหมาะสม สำหรับเหงือกและฟัน:

แปรงฟันทุกซี่ และเหงือกให้สะอาดทั่วถึงด้วยแปรงสีฟันที่มีคุณภาพ ออกแบบมาให้สามารถเข้าถึงซอกลึกได้ และทำความสะอาดคราบแบคทีเรียที่มักสะสมอยู่บริเวณขอบเหงือก ใต้เหงือก และระหว่างซอกฟัน

รูปภาพ: แปรงสีฟันที่ขนแปรงมีลักษณะเรียวยาวมากจะทำให้สามารถเข้าถึงใต้เหงือก และระหว่างซอกฟันในบริเวณที่เข้าถึงได้ยากได้ดีกว่าขนแปรงที่มีลักษณะปลายโค้งมน

  

จับด้ามแปรงเพื่อให้ขนแปรงชี้ขึ้นไปที่ขอบเหงือกทำมุม 45 องศาไปที่รากฟัน และเคลื่อนแปรงไปมาเล็กน้อย โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้แปรงพื้นผิว และด้านข้างของฟันทุกซี่เท่า กัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีจะใช้เวลาประมาณ 2 นาที ทั้งนี้ควรตรวจสอบเทคนิคที่เหมาะสมกับนักทันตอนามัยของคุณ

รูปภาพ: เทคนิคการแปรงฟันที่มุ่งเน้นการทำความสะอาดในร่องเหงือก (Bass technique) คือ การวางขนแปรงโดยทำมุมกับฟันที่ 45 องศา

ระหว่างซอกฟัน:

แปรงสีฟันไม่สามารถทำความสะอาดได้อย่างสมบูรณ์แบบในบริเวณที่สามารถเข้าถึงได้ยากระหว่างซอกฟัน จึงควรใช้แปรงซอกฟัน หรือไหมขัดฟันทุกวันเพื่อทำความสะอาดฟันแต่ละซี่ ด้วยผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาอย่างถูกต้องจึงทำให้การทำความสะอาดระหว่างซอกฟันนั้นง่าย และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

ยาสีฟัน:

ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์วันละ 2 ครั้ง แปรงฟันเป็นเวลา 2 นาทีเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากฟลูออไรด์ที่จับตัวกับสารเคลือบฟัน หากมีแนวโน้มว่าฟันจะมีการสึกกร่อน ให้ลองเลือกยาสีฟันชนิดที่อ่อนโยน และมีฤทธิ์กัดกร่อนต่ำ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการใช้ยาสีฟันที่เป็นสูตรฟอกสีฟันซึ่งอาจทำให้เกิดการสึกกร่อนกับผิวฟันได้