สุขภาพช่องปากสำหรับผู้สูงอายุ
เมื่อคุณต้องดูแลผู้สูงอายุ…
คุณจะดูแลสุขภาพช่องปากของพวกเขาได้อย่างไร?
ปัจจุบันผู้สูงอายุจำนวนมากยังคงมีฟันแท้อยู่ หรือในบางคนอาจมีทั้งฟันแท้ และฟันปลอมที่สามารถถอดออกได้ หรือฟันปลอมยึดติดถาวร ในขณะที่บางคนนั้นอาจไม่มีฟันแท้หลงเหลืออยู่เลยจึงจำเป็นต้องใส่ฟันปลอมทั้งหมด ซึ่งปัญหาที่พบในผู้สูงอายุคือความยากลำบากในการดูแลทั้งสุขภาพร่างกาย และสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง
การดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุมักจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางทันตกรรมได้เนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงลักษณะและปริมาณของน้ำลาย, พฤติกรรมในการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง, การดูแลสุขอนามัยในช่องปากที่ไม่ดีพอเนื่องจากการสูญเสียความชำนาญ เป็นต้น ดังนั้นการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากของพวกเขาจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อลดความเสี่ยงเหล่านี้
ความเสี่ยงที่พบของโรคทางทันตกรรม
การป้องกันโรคทางทันตกรรมเป็นสิ่งที่สำคัญในกลุ่มผู้อายุ เนื่องจากผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลทางการแพทย์ นั้นอาจจะดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้ไม่ดีมากนัก
ซึ่งหากผู้สูงอายุต้องสูญเสียฟันแล้วจะทำให้การเคี้ยวอาหารกลายเป็นเรื่องยาก และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเศษอาหารติดคอ– ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตได้
อีกทั้งยังพบว่าสุขภาพช่องปากที่ไม่สะอาดนั้นอาจเพิ่มเสี่ยงต่อโรคปอดอักเสบได้ด้วยเช่นกัน
การดูแลสุขภาพช่องปาก
การดูแลสุขภาพช่องปากนั้น สามารถทำได้ทั้งการดูแลเป็นประจำที่บ้าน สถานพยาบาล หรือโดยผู้เชี่ยวชาญในคลินิกทำฟัน
การดูแลสุขภาพช่องปากในชีวิตประจำวัน
ฟันแท้ธรรมชาติ
ผู้สูงอายุที่ยังมีฟันแท้อยู่ หากดูแลอย่างถูกวิธีจะช่วยคงสภาพและสามารถใช้งานเป็นเวลาอีกหลายปีแต่หากฟันเริ่มมีการสึกหรอ หรือกัดกร่อนที่ตัวฟัน อาจทำให้มีภาวะเหงือกร่นซึ่งเผยให้เห็นรากฟัน ซึ่งล้วนเป็นอุปสรรคต่อการรักษาสุขภาพช่องปากให้มีสุขภาพดี ดังนั้นฟันแท้ธรรมชาติจึงควรได้รับการทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือ ในตอนเช้า และตอนเย็น ด้วยแปรงสีฟันที่ดีคู่กับยาสีฟันมีส่วนผสมของฟลูออไรด์ และควรใช้แปรงซอกฟันหรือไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟันที่ลึกวันละ 1 ครั้ง
แปรงสีฟันที่ดีควรมีด้ามจับสะดวก มั่นคง หัวแปรงมีขนาดเล็ก-ขนาดกลาง และขนแปรงอ่อนนุ่ม
แม้การดูแลรักษาสุขอนามัยช่องปากให้กับผู้สูงอายุจะไม่ใช่เรื่องง่ายแต่หากมีการปรับสิ่งแวดล้อมโดยรอบ เช่น เตียงหรือเก้าอี้ที่สะดวกในการให้การดูแล แสงสว่างที่พอเหมาะ ก็จะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานของผู้ดูแลได้มากยิ่งขึ้น
ฟันแท้ธรรมชาติและฟันปลอมบางส่วน
ผู้สูงอายุที่มีฟันแท้ร่วมกับการใส่ฟันปลอม อาจพบปัญหาการทำความสะอาดฟันปลอมซึ่งต้องใช้เทคนิคพิเศษในการทำความสะอาดรอบ ๆ และระหว่างซอกฟัน ซอกเหงือก
รวมทั้งควรมีการดูแลฟันปลอมชนิดถอดออกได้ให้ถูกวิธีโดยการใช้แปรงทำความสะอาดและแช่น้ำยาล้างฟันปลอม
ฟันปลอมทั้งหมด
ผู้สูงอายุที่ใส่ฟันปลอมทั้งหมดนั้นจำเป็นต้องมีสันเหงือกที่แข็งแรงในการยึดฟันปลอม ทำให้ฟันปลอมติดแน่น อีกทั้งการควบคุมกล้ามเนื้อในเวลารับประทานอาหาร
การทำความสะอาดฟันปลอมเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ควรถอดและแปรงฟันปลอมเพื่อทำความสะอาดเศษอาหาร และคราบแบคทีเรีย รวมถึงการแช่ฟันปลอมในน้ำยาทำความสะอาดฟันปลอม หากฟันปลอมใช้กาวในการยึดติด โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าติดแน่นอยู่บนเหงือก หรือเพดานปาก
แนะนำควรเลือกใช้แปรงสีฟันที่อ่อนนุ่มเพื่อทำความสะอาดเหงือก เพดานปาก และลิ้น รวมทั้งกำจัดคราบแบคทีเรียและกาวติดฟันปลอมที่หลงเหลืออยู่
นอกจากนี้ควรตรวจสุขภาพช่องปากอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเพื่อประเมินการทำงาน และความแน่นของฟันปลอม รวมทั้งทำการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งในช่องปาก
การดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญ
การตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำนั้นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน (แม้ว่าจะไม่มีฟันแท้หลงเหลืออยู่แล้วก็ตาม) ซึ่งทันตแพทย์จะให้คำแนะนำได้ว่าควรจะตรวจสุขภาพช่องปากบ่อยแค่ไหนทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสุขอนามัยของช่องปาก และภาวะของสุขภาพของผู้ป่วยแต่ละราย
ข้อควรปฏิบัติ:
ควรมีการจดบันทึกการนัดพบทันตแพทย์ หรือหากยังไม่มีข้อมูลสถานพยาบาลหรือคลินิก แนะนำให้ติดต่อผู้ช่วยดูแลสุขภาพของคุณเพื่อนัดรับการตรวจรักษาที่ถูกวิธี
- สอบถามทันตแพทย์ และนักทันตอนามัยว่าควรเข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปากบ่อยแค่ไหน และขั้นตอนในการรักษาสุขอนามัยของช่องปากทุกวันแบบไหนดีที่สุด
- ควรเตรียมตัวและข้อมูลก่อนเข้าพบทันตแพทย์ ดังต่อไปนี้:
- แจ้งรายการยาที่แพทย์สั่งจ่าย และยาที่ซื้อจากเคาน์เตอร์ขายยา
- แจ้งรายการของอาการเจ็บป่วยทางด้านสุขภาพ รวมถึงอาการแพ้ยา
- ประกันภัยด้านทันตกรรม หรือบัตรประกันสุขภาพ
- ฟันปลอม แม้ว่าจะไม่ได้ใส่เป็นประจำ
- ดูแลฟันแท้ของคุณ ด้วยการแปรงฟันที่ถูกวิธีอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งด้วยแปรงสีฟันที่ดี คู่กับยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ แนะนำควรเปลี่ยนแปรงสีฟันบ่อยครั้งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุก ๆ สามเดือน และล้างทำความสะอาดแปรงหลังการใช้งานทุกครั้ง
- ใช้แปรงซอกฟัน หรือไหมขัดฟันทำความสะอาดระหว่างซอกฟันทุกซี่ในบริเวณที่แปรงสีฟันปกติไม่สามารถเข้าถึงได้ แนะนำควรเปลี่ยนแปรงซอกฟันทุก ๆ 1-2 สัปดาห์
- ทำความสะอาดฟันปลอมที่สามารถถอดออกได้อย่างน้อยวันละ 1 ครั้งด้วยแปรงสีฟันที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อแปรงฟันปลอมโดยเฉพาะ และบ้วนทำสะอาดปากในขณะที่ไม่ได้ใส่ฟันปลอม
- หลีกเลี่ยงการบริโภคของว่างที่มีน้ำตาล เนื่องจากจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุได้
- ตัดอาหารให้มีชิ้นเล็กลงเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดเศษอาหารติดคอ โดยเฉพาะผู้ที่สวมใส่ฟันปลอม