ฟันห่าง

ฟันห่าง ฟันหลวม และฟันล้ม

เมื่อฟันของเริ่มห่าง มีช่องว่างเกิดขึ้น รวมทั้งยังรู้สึกว่าฟันหลวม และล้มอีกด้วย

สิ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณที่มักพบโดยทั่วไปของโรคเหงือกรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคปริทันต์ คุณควรปรึกษาทันตแพทย์โดยเร็วที่สุดเพื่อรับการตรวจ และวินิจฉัยโดยทันตแพทย์เท่านั้นที่จะเป็นผู้สามารถบอกคุณได้ว่าคุณมีภาวะของโรคปริทันต์อักเสบหรือไม่

ปัญหาที่พบได้?

สิ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณที่มักพบโดยทั่วไปของโรคเหงือกรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคปริทันต์ คุณควรปรึกษาทันตแพทย์โดยเร็วที่สุดเพื่อรับการตรวจ และวินิจฉัยโดยทันตแพทย์เท่านั้นที่จะเป็นผู้สามารถบอกคุณได้ว่าคุณมีภาวะของโรคปริทันต์อักเสบหรือไม่

สัญญาณเหล่านี้บ่งบอกถึงการติดเชื้อ  การสูญเสียกระดูกรอบฟัน ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการสูญเสียฟัน

รูปภาพ: โรคเหงือกระยะรุนแรง เหงือกจะมีสีแดง บวม และขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เหงือกมีเลือดออกง่ายมาก โดยทั่วไปสามารถมองเห็นคราบแบคทีเรียและคราบหินปูนได้ชัดเจน และอาจจะรู้สึกว่าฟันหลวม มีหนองไหลออกมา อาจมีเหงือกร่น และฟันล้ม

สาเหตุเกิดจากอะไร?

ฟันหลวมเกิดขึ้นจากคราบแบคทีเรียและร่างกายมีการต่อต้านโดยกระบวนการอักเสบ ทำให้เกิดการทำลายของกระดูก และเนื้อเยื่ออื่น ๆ ที่ยึดเกาะฟันในขากรรไกร

ฟันที่หลวมขึ้นนั้นอาจทำให้ฟันล้ม หรือเคลื่อนที่ไปมาได้เนื่องจากกระดูกที่เคยยึดติดไว้นั้นหายไป

โรคปริทันต์อักเสบเกิดจากการสะสมของคราบแบคทีเรียภายในช่องปาก และกลไกทางภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้เกิดการต่อต้านด้วยอาการอักเสบ ซึ่งทั้งแบคทีเรียและการอักเสบส่งผลให้เนื้อเยื่อเหงือกถูกทำลายและไม่สามารถฟื้นกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ เนื่องจากเนื้อเยื่อเหงือกถูกทำลาย ทำให้เหงือกร่นขึ้น ฟันดูยาวขึ้น และมีร่องปริทันต์ลึกซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการทำลายเหงือกที่ติดอยู่กับฟันกับกรามและกระดูกโดยรอบซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาทางทันตกรรม ในที่สุดอาจต้องสูญเสียฟันด้วยการถอนฟัน

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเข้ารับการรักษา?

เมื่อทันตแพทย์ได้ประเมินสุขภาพช่องปากและได้ทำการวินิจฉัยโรคแล้ว ทันตแพทย์อาจแนะนำคุณไปพบทันตแพทย์ด้านปริทันต์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเหงือก และรากฟันเทียม เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากที่เหมาะสมในการกำจัดคราบแบคทีเรีย ทำความสะอาดร่องลึกปริทันต์ รวมทั้งมีการประเมินเพื่อกำหนดวิธีการรักษาที่ดีที่สุดให้กับคุณซึ่งอาจรวมไปถึงการขูดหินปูน การวางแผนรากฟัน การผ่าตัดเหงือก หรือแม้แต่การถอนฟัน

ข้อควรปฏิบัติ:

  1. จัดตารางตรวจสุขภาพช่องปากและเตรียมพร้อมที่จะแจ้งทันตแพทย์ของคุณให้ทราบเกี่ยวกับอาการของคุณ เช่น คุณมีอาการนานแค่ไหน ประวัติทางการแพทย์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาวะโรคร่วมอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และยาที่คุณรับประทานประจำ

  2. อย่ารอช้า มาเริ่มดูแลสุขภาพช่องปากของคุณให้เป็นพิเศษทุกวัน เพื่อลดการสะสมคราบแบคทีเรียบนผิวฟันซึ่งสิ่งสำคัญที่จะสามารถหยุดยั้งไม่ให้อาการแย่ลง มีเหงือกอักเสบ มีเลือดออกบ่อยครั้ง ทั้งนี้แม้อาการดูเหมือนว่าจะดีขึ้นในช่วงที่มีการรักษาสุขอนามัยที่ดี แต่คุณยังควรได้รับการตรวจสุขภาพฟันโดยเร็วที่สุด!

สำหรับฟันทุกซี่ และเหงือก:

แปรงฟันทุกซี่ และเหงือกให้ทั่วถึงด้วยแปรงสีฟันคุณภาพดีที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้สามารถเข้าถึงซอกลึก และช่วยทำความสะอาดบริเวณที่มีคราบแบคทีเรียสะสมโดยเฉพาะบริเวณขอบเหงือก ใต้เหงือก และระหว่างซอกฟัน

รูปภาพ: แปรงสีฟันที่ขนแปรงมีลักษณะเรียวยาวมากจะทำให้สามารถเข้าถึงใต้เหงือก และระหว่างซอกฟันในบริเวณที่เข้าถึงได้ยากได้ดีกว่าขนแปรงที่มีลักษณะปลายโค้งมน

 

จับด้ามแปรงเพื่อให้ขนแปรงชี้ขึ้นไปที่ขอบเหงือกทำมุม 45 องศาไปที่รากฟัน และเคลื่อนแปรงไป-มาเล็กน้อย โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้แปรงพื้นผิว และด้านข้างของฟันทุกซี่เท่า ๆ กัน การทำขั้นตอนนี้ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีจะใช้เวลาประมาณ 2 นาที และควรรับคำแนะนำจากทันตแพทย์ หรือนักทันตอนามัยของคุณเกี่ยวกับเทคนิคที่เหมาะสมกับช่องปากของคุณ

รูปภาพ: ลักษณะที่สำคัญของเทคนิคการแปรงฟันที่เน้นการทำความสะอาดในร่องเหงือก (Bass technique) คือ การวางขนแปรงโดยทำมุมกับฟันที่ 45 องศา

 

ระหว่างซอกฟัน:

แปรงสีฟันไม่สามารถทำความสะอาดได้อย่างสมบูรณ์ในบริเวณที่สามารถเข้าถึงได้ยาก เช่น ระหว่างซอกฟัน บริเวณที่มีเลือดออกบ่อย และเริ่มเกิดภาวะโรคเหงือก แนะนำควรใช้แปรงซอกฟัน หรือไหมขัดฟันทุกวันเพื่อทำความสะอาดฟันแต่ละซี่ การเลือกผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องจะทำให้การทำความสะอาดระหว่างซอกฟันง่ายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น